การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL)
ปิยวรรณ ลอดทอง ครูชำนาญการพิเศษโรงเรียนบ้านดู่
ทิศนา แขมมณี (2545 : 14) กล่าวว่า การเรียนการสอนแบบซิปปา เป็นรูปแบบของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รูปแบบหนึ่งที่ได้รับความสนใจและมีนักการศึกษาให้คำจำกัดความของการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษร คือ
C หมายถึง Construct คือการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยกระบวนการแสวงหาข้อมูล ทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความ สร้างความหมาย สังเคราะห์ข้อมูลและสรุปข้อความ
I หมายถึง Interaction คือ การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน เรียนรู้จากกันแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดและประสบการณ์แก่กันและกัน
P หมายถึง Participation คือการให้ผู้เรียนมีบทบาท มีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากที่สุด
P หมายถึง Process หรือ Product คือการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน ข้อความที่สรุปได้
A หมายถึง Application คือการให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL)
ซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ
ทิศนา แขมมณี (2548 : 281 - 282) ได้เสนอกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบของซิปปา ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการดำเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นการดึงความรู้ของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิมของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ๆได้อย่างหลากหลาย
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
ขั้นนี้เป็นการแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนยังไม่มีจากแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งครูอาจเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆเพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หามาได้ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ ๆ โดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งอาจจำเป็นต้องอาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อม ๆ กัน
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
ขั้นนี้เป็นขั้นการสรุปความรู้ที่ได้รับทั้งหมด ทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้มีระบบระเบียบ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
หากข้อความรู้ได้เรียนรู้มาไม่มีการปฏิบัติ ขั้นนี้เป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้ำหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์ แต่หากต้อง
มีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
ตัวอย่างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL)
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง สมการและการแก้สมการ เวลา 15 ชั่วโมง
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง สมการและสมการที่เป็นจริง เวลา 1 ชั่วโมง
สอนวันที่.............. เดือน.................................................. พ.ศ. ..................
มาตรฐานการเรียนรู้
ค 4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (mathematical model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา
ตัวชี้วัด ป.6/1 เขียนสมการจากสถานการณ์หรือปัญหา และแก้สมการพร้อมทั้งตรวจคำตอบ
ค 6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ตัวชี้วัด ป.6/3 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด ป.6/4 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สาระสำคัญ
1. ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย = เรียกว่า สมการ
2. สมการที่เป็นจริง หมายถึง สมการที่จำนวนที่อยู่ทางซ้ายของเครื่องหมาย = กับจำนวนที่อยู่ทางขวาเท่ากัน
3. สมการที่เป็นเท็จ หมายถึง สมการที่จำนวนที่อยู่ทางซ้ายของเครื่องหมาย = กับจำนวนที่อยู่ทางขวาไม่เท่ากัน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. ด้านความรู้
1.1 เมื่อกำหนดประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวก การลบ การคูณ หรือการหารให้สามารถบอกได้ว่าเป็นสมการหรือไม่เป็นสมการ
1.2 เมื่อกำหนดสมการให้ สามารถบอกได้ว่าเป็นสมการที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จ
2. ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
2.1 ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอเกี่ยวกับการเขียนสมการและสมการที่เป็นจริงได้อย่างถูกต้อง
3. ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์
3.1 ซื่อสัตย์สุจริต
3.2 มีวินัย
3.3 ใฝ่เรียนรู้
3.4 มุ่งมั่นในการทำงาน
สาระการเรียนรู้
สมการและสมการที่เป็นจริง
กิจกรรมการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL)
ขั้นที่ 1 ทบทวนความรู้เดิม
1. นักเรียนทบทวนประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย = ¹ > < โดยให้นักเรียนทุกคนเขียนประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย = ¹ > < บนกระดาน
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
2. ครูแจกแบบฝึกทักษะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชุดที่ 1 สมการและสมการที่เป็นจริง ให้กับนักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาใบความรู้ เรื่อง สมการและสมการที่เป็นจริง
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
3. เมื่อนักเรียนได้ศึกษาใบความรู้แล้ว ครูอธิบาย แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมการว่า ประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย = เรียกว่า สมการ แล้วให้นักเรียนร่วมกันตอบว่าประโยคสัญลักษณ์ที่นักเรียนเขียนบนกระดานประโยคสัญลักษณ์ใดบ้างเป็นสมการ โดยครูคอยแนะนำ
4. ครูติดแถบประโยคสัญลักษณ์ให้นักเรียนพิจารณาดังนี้



(1) 25 ¸ 5 = 5 (2) 27 = 9 ´ 3 (3) 5 ´ 10 = 5 + 10
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันตอบคำถามดังนี้
- แถบประโยคสัญลักษณ์ที่ 1 ผลหารของ 25 ÷ 5 ได้เท่ากับเท่าไร (27)
- แถบประโยคสัญลักษณ์ที่ 2 ผลคูณของ 9 × 3 ได้เท่ากับเท่าไร (27)
- แถบประโยคสัญลักษณ์ที่ 3 ผลคูณของ 5 × 10 ได้เท่ากับเท่าไร (50)
ผลบวกของ 5 + 10 ได้เท่ากับเท่าไร (15)
- สมการจากแถบประโยคสัญลักษณ์ใดที่ผลลัพธ์ทางซ้ายของเครื่องหมาย =
กับจำนวนที่อยู่ทางขวาเท่ากัน และเรียกว่าอย่างไร
(แถบประโยคสัญลักษณ์ที่ 1 และแถบประโยคสัญลักษณ์ที่ 2 และเรียกว่าสมการที่เป็นจริง)
- สมการจากแถบประโยคสัญลักษณ์ใดที่ผลลัพธ์ทางซ้ายของเครื่องหมาย =
กับจำนวนที่อยู่ทางขวาไม่เท่ากันและเรียกว่าอย่างไร
(แถบประโยคสัญลักษณ์ที่ 3 และเรียกว่าสมการที่เป็นเท็จ )
5. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะที่ 1.1
6. ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินแบบฝึกทักษะที่ 1.1
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
7. ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 และกลุ่มที่ 2 จำนวนกลุ่มละ 3 คน กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 4 กลุ่มที่ 5 กลุ่มที่ 6 จำนวนกลุ่มละ 3 คน สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่จัดอยู่ในกลุ่มเก่ง ปานกลาง และนักเรียนในกลุ่มอ่อน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันระดมความคิดภายในกลุ่มเขียนสมการกลุ่มละ 6 สมการ
8. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนเขียนสมการบนกระดานแล้วนำเสนอโดยมีครูและเพื่อนกลุ่มอื่นร่วมแสดงความคิดเห็นและตรวจผลงาน
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
9. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เกี่ยวกับ สมการและสมการที่เป็นจริงว่า
สมการ คือประโยคสัญลักษณ์ที่มีเครื่องหมาย =
สมการที่เป็นจริง หมายถึง สมการที่จำนวนที่อยู่ทางซ้ายของเครื่องหมาย = กับจำนวน ที่อยู่ทางขวาเท่ากัน
สมการที่เป็นเท็จ หมายถึง สมการที่จำนวนที่อยู่ทางซ้ายของเครื่องหมาย = กับจำนวน ที่อยู่
10. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการศึกษาโดยสร้างแผนผังมโนมติ(Concept Mapping) ลงในแบบฝึกทักษะที่ 1.2 โดยบันทึกเป็นรายบุคคล
11. นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนนำเสนอข้อสรุปความรู้จากแผนผังมโนมติ(Concept Mapping) เกี่ยวกับ สมการและสมการที่เป็นจริง โดยมีครูและเพื่อนกลุ่มอื่นร่วมประเมินและแสดงความคิดเห็น
12. ครูติดแผนภูมิเพลง สมการ ครูและนักเรียนร่วมกันร้องเพลงและแสดงท่าทางประกอบ
เพลง สมการ
เนื้อร้อง ปิยวรรณ ลอดทอง
ทำนองเพลง อยู่ไหน
สมการอยู่ไหน จะต้องไปหา ไม่ยากเลยหนารู้จักหรือยัง
เครื่องหมายเท่ากับ(=) ไม่ลืมนะฟัง รู้หรือยังสมการต้องมีกัน(ซ้ำ)
|
|
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติและ/หรือแสดงผลงาน
13. นักเรียนทุกคนทำแบบฝึกทักษะที่ 1.3
14. ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินแบบฝึกทักษะที่ 1.3
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
15. ให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับสมการและสมการที่เป็นจริงเขียนสมการที่เป็นจริงและสมการที่เป็นเท็จลงแบบฝึกทักษะที่ 1.4
16. ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินแบบฝึกทักษะที่ 1.4
17. นักเรียนทำกิจกรรมแบบทดสอบย่อยชุดที่ 1
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
1. แถบประโยคสัญลักษณ์
2. แผนภูมิเพลง สมการ
3. แบบฝึกทักษะการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง สมการและการแก้สมการ ชุดที่ 1 สมการและสมการที่เป็นจริง ซึ่งประกอบด้วยใบความรู้ เรื่อง สมการและสมการที่เป็นจริง แบบฝึกทักษะที่ 1.1,1.2,1.3 และ 1.4 แบบทดสอบย่อยที่ 1
การวัดผลประเมินผล
สิ่งที่ต้องการวัด
|
วิธีการวัด
|
เครื่องมือวัด
|
เกณฑ์
|
1. เมื่อกำหนดประโยคสัญลักษณ์แสดงการบวก การลบ การคูณ หรือการหารให้สามารถบอกได้ว่าเป็นสมการหรือไม่เป็นสมการ
2. เมื่อกำหนดสมการให้ สามารถบอกได้ว่าเป็นสมการที่เป็นจริงหรือเป็นเท็จ
|
- ทดสอบ
- ตรวจแบบฝึกทักษะที่ 1.1,1.2 และ 1.3
|
- แบบทดสอบ
- แบบฝึกทักษะที่ 1.1,1.2 และ 1.3
|
-ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไปจึงจะผ่าน
|
3. ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร การสื่อความหมาย และการนำเสนอเกี่ยวกับการเขียนสมการและสมการที่เป็นจริงได้อย่างถูกต้อง
|
- ตรวจแบบฝึกทักษะที่ 1.4
|
- แบบฝึกทักษะที่ 1.4
|
-ได้คะแนนร้อยละ 80 ขึ้นไปจึงจะผ่าน
|
4. ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน
|
- สังเกตการทำงาน และการตอบคำถาม
|
แบบสังเกตพฤติกรรม
|
- ได้ผลการประเมินระดับ พอใช้ ขึ้นไปจึง
จะผ่าน
|
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมณี. รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, 2548.
ทิศนา แขมณี. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.