ประวัติสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านปะกาฮะรัง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ต.ปะกาฮะรัง อ.เมือง จ.ปัตตานี ก่อตั้งเมื่่อปีพุทธศักราช 2479 สภาพอาคารเรียนเป็นอาคารเรีิอนไม้ทรงปั้นหยา มีหน้ามุข ตัวอาคารยาว 10 เมตร กว้าง 5 เมตร หลักคามุงจาก ฝากั้นสังกะสีเปิดเป็นห้องโถง เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 4
ปี พ.ศ. 2506 ได้ย้ายโรงเรียนมาที่แห่งใหม่เนื่องจากเนื้อที่้เืดิมคับแคบไม่สามารถสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 พ. ขนาด 4 ห้องเรียนได้ จึงย้ายที่มาเป็นที่ตั้งโรงเรียนในปัจจุบัน โดยสำนักงานศึกษาธิการได้ขายที่ดินแปลงเก่าและมาซื้อใหม่ในราคา 3000.00 บาท เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา ผู้ขายคือ นางตีเมาะ แวสุหลง และได้สร้างอาคารในราคา 50000.00 บาท( ห้าหมื่นบาทถ้วน ) เปิดใช้เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2506 เป็นต้นมา ( ปัจจุบันอาคารหลังนี้ได้รื้อถอนแล้ว )
ปี พ.ศ. 2515 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ก่อสร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ก ขนาด 2 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง กว้าง 8.50 เมตร ยาว 18 เมตร เป็นจำนวนเงิน 80000.00 บาท ( แปดหมื่นบาทถ้วน ) เปิดใช้เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2515
ปี พ.ศ. 2522 ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 017 ขนาด 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง เป็นจำนวนเงิน 490,000 บาท ( สี่แสนเก้าหมื่นบาทถ้วน ) แต่โรงเรียนมีเนื้อที่ไม่เพียงพอที่จะสร้างอาคารเรียนดังกล่าว โรงเรียนจึงจำเป็นต้องซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อสร้างอาคารเรียนหลังนี้ โดยซื้อที่ดินจากนายหะยีมะมิง มะสาและ ในราคา 11,000 บาท ( หนึ่งหมื่นหนึ่งพันบาท) ส่วนอีก 1,000 บาท ( หนึ่งพันบาทถ้วน ) ราษฎรในพื้นที่และคณะครูร่วมกันบริจาค พื้นที่โรงเรียนปัจจุบัน 1 ไร่ 3 งาน 26 ตารางวา เปิดใช้อาคารเรียนเมื่อ วันที่ 18 ธันวาคม 2522
ปี พ.ศ. 2523 เปิดขยายชั้นเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เป็นปีการศึกษาแรก
ปี พ.ศ. 2524 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานีเป็นค่าก่อสร้างอาคารประกอบโรงฝึกงาน แบบ 312 ขนาด 6 x 17.50 เมตร เป็นจำนวนเงิน 139,000 บาท ( หนึ่้งแสนสามหมื่นเก้าพันบาทถ้วน )
ปี พ.ศ. 2525 ได้รับงบประมาณจากสภาผู้แทนราษฎรเพื่อก่อสร้างประตูและรั้วโรงเรียนด้านหน้าจำนวนเงิน 55,000 บาท ( ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน ) และงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานีเป็นค่าก่อสร้างส้วม แบบ 401 ขนาด 3 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 30,000 บาท ( สามหมื่นบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2526 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานีเป็นค่าต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง แบบ 017 ขนาด 2 ห้องเรียน เป็นจำนวนเงิน 79,000 บาท ( เจ็ดหมื่นเก้าพันบาทถ้วน )
ปี พ.ศ. 2527 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานีเป็นค่าต่อเติมอาคารเรียน แบบ ป.1 ก. ขนาด 2 ห้องเรียน เป็นจำนวนเงิน 234,500 บาท ( สองแสนสามหมื่นสี่พันห้าร้อยบาทถ้วน )
ปี พ.ศ. 2528 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัีดปัตตานีเป็นค่าต่อเติมอาคารเรียนชั้น ล่าง แบบ 017 ขนาด 2 ห้องเรียน เป็นจำนวนเงิน 119,500 บาท ( หนึ่งแสนหนึ่งหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน )
ปี พ.ศ. 2533 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี เพื่อสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบสปช. 203/2526 ขนาด 10x20 เมตร จำนวน 1 หลัง จำนวนเงิน 360,000 บาท ( สามแสนหกหมื่นบาทถ้วน) และได้รับงบประมาณจากงบพัฒนาจังหวัดเพื่อก่อสร้างศาลาละหมาด ขนาด 4 x 6 เมตร จำนวน 1 หลัง เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 65,000 บาท ( หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
ปี พ.ศ. 2559 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อจัดสร้างอาคารเรียน จำนวน 1 หลัุง 2 ชั้น 5 ห้องเรียน แบบ สปช. /2559
วันที่ 20 ธันวาคม 2533 นายบุญเสริม ฤิทธฺิเดช มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนแห่งนี้
วันที่ 31 สิงหาคม 2536 นายอดุลย์ บัวหลวง มาดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนแห่งนี้
ปี พ.ศ. 2538 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานี เพื่อก่อสร้างส้วม แบบ สปช.601/26 จำนวน 4 ที่นั่ง จำนวน 1 หลัง เป็นจำนวนเงิน 90,000 บาท ( เก้าหมื่นบาทถ้วน )
ปี พ.ศ. 2540 คณะครูได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อต่อเติมอาคารเรียน ป.1 ก. ด้านข้างเพื่อทำเป็นห้องพักครู ขนาด 3.50 x 5.50 เมตร เป็นจำนวนเงิน 10,000 บาท ( หนึ่งหมื่นบาทถ้วน )
ปี พ.ศ. 2541 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดปัตตานีเป็นค่าก่อสร้างอาคารเรียน แบบ สปช.105/29 ขนาด 4 ห้องเรียน จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 1,834,000 บาท ( หนึ่งล้านแปดแสนสามหมื่นสี่พันบาทถ้วน )
วันที่ 30 กันยายน 2542 นายอดุลย์ บัวหลวง ได้ลาออกจากราชการตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต ได้มอบหมายให้นางเจ๊ะเซาด๊ะ ราชมุกดา เป็นผู้รักษาการตำแหน่งอาจารย์ใหญ่
วันที่ 9 ธันวาคม 2542 นายอับดุลรอฟาร์ ดาเล็ง มาดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่ ต่อจากนายอดุลย์ บัวหลวง
ปี พ.ศ. 2544 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เป็นค่าต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง แบบ สปช.105/29 จำนวน 1 หลัง ขนาด 4 ห้องเรียน เป็นจำนวนเงิน 320,000 บาท ( สามแสนสองหมื่นบาทถ้วน )
ปี พ.ศ. 2546 ได้รับงบประมาณจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานีเขต 1 เป็นค่าก่อสร้างส้วม แบบสปช.601/26 จำนวน 1 หลัง ขนาด 4 ที่นั่ง ในวงเงิน 90,900 บาท ( เก้าหมื่นเก้าร้อยบาทถ้วน )
วันที่ 26 สิงหาคม 2548 นายมะหะหมัด สาเมาะ ได้เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งนี้
วันที่ 30 กันยายน 2548 นายมะหะหมัด สาเมาะ ได้เกษียณอายุราชการ แต่งตั้งให้นางเจ๊ะเซาด๊ะ ราชมุกดา รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านปะกาฮะรัง
วันที่ 26 ธันวาคม 2548 นางบีเบ๊าะ บีรู ได้เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งนี้
วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 นางอัสน๊ะ คำเจริญ ได้เดินทางมารับตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันโรงเรียนบ้านปะกาฮะรัง จัดการศึกษาา 2 ระดับ ดังนี้ คือ ระดับปฐมวัยศึกษา และระดับประถมศึกษา มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 447 คน มีผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน มีครูประจำการปฏิบัติงานจริงจำนวน 16 คน พนักงานราชการ 3 คน วิทยาการอิสลาม 6 คน เป็นโรงเรียนนำร่องโครงการพัฒนาการเรียนการสอนอิสลามศึกษาแบบเข้ม เป็นโรงเรียนในโครงการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาำไทยในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนแบบสันติศึกษา เป็นโรงเรียนปลอดสารเสพติดดีเด่น และเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง และอื่น ๆ เป็นต้น
ที่ตั้งสถานศึกษา หมู่ที่ 1 ถ.เพชรเกษม ต.ปะกาฮะรัง อ.เมือง จ.ปัตตานี 94000 โทรศัพท์ 073-348625
สภาพศรษกิจและสังคม ประชาชนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรม เช่น รับจ้างเลือกปลา รับจ้างทำงานก่อสร้าง ฐานะพอกินในครัวเรือน ประชาชนในชุมชนร้อยละ 95 นับถือศาสนาอิสลาม ใช้ภาษามลายูท้องถิ่นในการสื่อสาร และประมาณร้อยละ 0.5 นับถือศาสนาพุทธ ในพื้นที่ หมู่ 8 ใช้ภาษาปักษ์ใต้พื้นเมืองในการสื่อสาร รายได้ของครอบครัวปานกลางค่อนข้างยากจน โดยเฉลี่ย 3,000 บาทต่อเดือน
การคมนาคมและการสาธารณูปโภค โรงเรียนบ้านปะกาฮะรังใช้เส้นทางคมนาคมเข้าสู่โรงเรียนทางถนนเพชรเกษมปัตตานี-นราธิวาส ถนนลาดยางตลอดสายระยะทางโดยประมาณจากตัวอำเภอเมืองถึงโรงเรียนประมาณ 7 กิโลเมตร มีไฟฟ้า มีน้ำดื่ม น้ำใช้ในโรงเรียนตลอดปี โดยใช้ประปาโรงเรียน มีโทรศัพท์สาธารณะขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยบริการในหมู่บ้าน
มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เป็นต้น
เพลงมาร์ชปะกาฮะรัง
ปะกาฮะรังเหลืองแดงเป็นสง่า งามตรึงตราเรารักในศักดิ์ศรี
ประกาศเกียรติกู่ก้องปฐพี ยึดมั่นความดี คือ ปะกาฮะรัง
สามัคคี คือพลังอันยิ่งใหญ่ ปะกาฮะรังต่างรักและหวงแหน
แม้นจะอยู่ถิ่นใต้เมืองชายแดน ก็ล้วนแม้นเป็นพี่น้องเผ่าพงศ์พันธ์
วิชาการก้าวไกลไปทุกถิ่น ลือระบิลเลื่องชื่อทุกแห่งหน
ประจักษ์อยู่ถ้วนทั่วทุกปวงชน เราทุกคนล้วนหมั่นขยันเรียน
รักกีฬาพลานามัยใจสะอาด แหล่งปราชญ์ของทุกคนทุกชนชั้น
รักชุมชน อนุรักษ์ วัฒนธรรม ยึดมั่นคุณธรรมคือเราปะกาฮะรัง.
..............................................................
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2019-07-23 09:43:34 น.