บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลังการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนอนุบาลสิงห์บุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาเป็นชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวันชั้นประถมศึกษาปีที่ 6แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ แบบทดสอบย่อยวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 80 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ข้อ ใช้เวลาในการทดลอง 24 ชั่วโมง รูปแบบการศึกษาใช้แบบ One Group Pretest-Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเกณฑ์ประสิทธิภาพ สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานใช้สถิติ t-test for dependent
ผลการศึกษาพบว่า
1. ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ
/
83.89 / 86.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ การเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจต่อการเรียนวิทยาศาสตร์หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมาก (
= 4.04)