องค์ความรู้ นวัตกรรมและบทเรียนจากการดำเนินการ
“THUNGPHO MODEL”
T = Technique หมายถึง กลวิธี
H = Habit หมายถึง ธรรมเนียม กิจวัตร
U = Understandable หมายถึง ที่สามารถยอมรับได้
N = Nation หมายถึง ความคิด
G = Gratification หมายถึง ความพึงพอใจ
P = Permanence หมายถึง ถาวร
H = Heart หมายถึง หัวใจ จิตวิญญาณ
O = Objective หมายถึง เป้าหมาย
หมายถึง “กลวิธีและแนวคิดสู่ธรรมเนียมปฏิบัติที่ทุกคนยอมรับและพึงพอใจ ซึ่งเป็นเป้าหมายถาวร”
ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
๑. สร้างความเข้าใจ
๑.๑ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ทราบการนำโรงเรียนเข้าสู่โรงเรียนคุณธรรม
๑.๒ การเข้ารับการอบรมสร้างวิทยากรแกนนำของโรงเรียนจากมูลนิธิยุวสถิรคุณ
๑.๓ สร้างครูแกนนำ และนักเรียนแกนนำโดยความสมัครใจ เพื่อเป็นคณะกรรมการหลักในการดำเนินงาน และเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรม
๑.๔ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน มีส่วนร่วมในการกำหนดคุณธรรมอัตลักษณ์ของโรงเรียน
๑.๕ จัดทำแผนโครงงานคุณธรรมเข้าสู่แผนปฏิบัติการประจำปี
๒. สร้างบรรยากาศคุณธรรม
๒.๑ จัดทำโครงงาน โดยดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้ (๑) ค้นหาปัญหา (๒) วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (๓) ระบุกลุ่มเป้าหมายของการแก้ปัญหา (๔) กำหนดวิธีการแกไขปัญหา (๕) กำหนดหลักธรรม (๖) กำหนดคุณธรรมเป้าหมายและพฤติกรรมบ่งชี้เชิงบวกซึ่งสอดคล้องกับคุณธรรมอัตลักษณ์ (๗) กำหนดวิธีการวัดผลและประเมินผล (๘) ตั้งชื่อโครงงาน
๒.๒ ลงมือปฏิบัติดำเนินการขับเคลื่อนโครงงานคุณธรรม ทั้งระดับโรงเรียนและระดับห้องเรียน กำหนดผู้รับผิดชอบโครงงานคุณธรรมอย่างชัดเจน การดำเนินงานสามารถบูรณาการร่วมกับชั้นเรียน เช่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานวินัยนักเรียน
๒.๓ ศึกษาดูงานโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม
๓. สอบถามและเสริมแรง
๓.๑ การนิเทศติดตามการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ
๑. ระดับห้องเรียน แต่งตั้งครูประจำชั้นทำหน้าที่ครูที่ปรึกษาโครงงาน และนิเทศ การดำเนินงานโครงงานคุณธรรมของนักเรียน
๒. ระดับโรงเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นิเทศการดำเนินงานโครงงานคุณธรรมระดับโรงเรียน
๓.๒ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาคเรียนละ ๑ ครั้ง
๓.๓ ประชุมร่วมกันสรุปรายงานต่อผู้บริหารสถานศึกษาเมื่อจบปีการศึกษา
๓.๔ รับการนิเทศจากผู้นิเทศอาสามูลนิธิยุวสถิรคุณ