กลยุทธ์ในการดำเนินงาน
กลยุทธ์ในการดำเนินงานของโรงเรียนวัดใหญ่ชัยมงคล(ภาวนารังสี) ประกอบด้วย ๖ กลยุทธ์ที่มีความสอดคล้องกับแนวนโยบายและยุทธศาสตร์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดังนี้
กลยุทธ์ที่ ๑ จัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
มาตรการ
๑. เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
๒. ปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรและค่านิยมที่พึงประสงค์
ตัวชี้วัด
๑. น้อมนำแนวพระราชดำริ สืบสำนพระราชปณิธานและพระบรมราโชบาย ด้านการศึกษา หรือ“ศาสตร์พระราชา”มาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างยั่งยืน มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันชาติศาสนา พระมหากษัตริย์ตามหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และ ความเป็นพลโลก
๒. ปลูกฝังและเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตย ความสามัคคี สมานฉันท์ สันติวิธี ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
๓. สนับสนุนการจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียนที่เอื้อต่อการพัฒนา คุณธรรม จริยธรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรและค่ำนิยมหลักของคนไทย ๑๒ ประการ
๔. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ เช่น อาชญากรรม และความรุนแรงในรูปแบบต่าง ๆ สิ่งเสพติด โรคเอดส์ ท้องก่อนวัยอันควร ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ภัยจากโรคอุบัติใหม่ ภัยจากไซเบอร์ ฯลฯ
กลยุทธ์ที่ ๒ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนและส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
มาตรการ
๑. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร ตามความจำเป็นและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม
๒. พัฒนาคุณภาพกระบวนการเรียนรู้
๓. สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
๔. ส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัย และนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
ตัวชี้วัด
๑. จัดการเรียนการสอนให้นักเรียนมีความมั่นใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษ
๒. พัฒนาระบบการวัดและประเมินผลทุกระดับ ให้มีคุณภาพและมาตรฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
๓. พัฒนาผู้เรียนด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจสังคมและสติปัญญา ให้มีความพร้อมเข้าสู่ การเรียนในระดับที่สูงขึ้น
๔. สนับสนุนให้ผู้เรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ตามช่วงวัย และมีนิสัยรักการอ่าน
๕. ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning) เน้นทักษะกระบวนการ ให้เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา และคิดสร้างสรรค์ในทุกกลุ่ม สาระการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน
๖. ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ทุกระดับ
๗. สนับสนุนการผลิต จัดหาและใช้สื่อการเรียนการสอน เทคโนโลยี นวัตกรรม
๘. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมแนะแนวเพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพอย่างเข้มแข็งต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม
๙. ยกระดับผลการประเมินระดับนานาชาติตามโครงการ PISA (Programme for International Student Assessment) พัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในด้านต่าง ๆ
๑๐. ส่งเสริมการเรียนรู้เชิงบูรณาการแบบสหวิทยาการ ได้แก่ สะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) เพื่อพัฒนากระบวนการคิด และการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่ำเพิ่ม สอดคล้องกับประเทศไทย ๔.๐
๑๑. ส่งเสริมการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล โดยเน้นให้มีการวิจัยในชั้นเรียน
กลยุทธ์ที่ ๓ ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
มาตรการ
๑.พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้สามารถจัดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ ในรูปแบบที่หลากหลาย
๑.๑ สนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการพัฒนาด้วยระบบTEPE Online (Teachers and Educational Personnel Enhancement Based on Mission and Functional Areas as Majors)
๑.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC (Professional Learning Community: PLC)
๑.๓ ส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการ ปฏิบัติจริง (Active Learning)
๑.๔ ส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเข้ารับการพัฒนาครูทั้งระบบ
๑.๕ ส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูครูและบุคลากรทางการศึกษาจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (ID Plan)
๒. พัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพโดยเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๒.๑ จัดทำแผนอัตรากำลัง
๒.๒ พัฒนาการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.๓ สร้างแรงจูงใจให้ข้าราชการครูครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญและกำลังใจ ในการทำงาน
ตัวชี้วัด
๑. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนเข้ารับการพัฒนาด้วยระบบ TEPE Online (Teachers and Educational Personnel Enhancement Based on Mission and Functional Areas as Majors)
๒. ร้อยละ ๘๐ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยกระบวนการ PLC (Professional Learning Community: PLC)
๓. ร้อยละ ๘๐ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกิจกรรมการปฏิบัติจริง (Active Learning)
๔. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกคนเข้ารับการพัฒนาครูทั้งระบบ
๕. โรงเรียนมีแผนอัตรากำลัง
๖. ร้อยละ ๘๐ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน
๗. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (ID Plan)
กลยุทธ์ที่ ๔ ขยายโอกาสการเข้าถึงบริการทางการศึกษาและการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
มาตรการ
๑. ส่งเสริมประชากรวัยเรียนทุกคนให้ได้รับโอกาสในการเข้ารับบริการทางการศึกษาอย่างทั่วถึง มีคุณภาพและเสมอภาค
๒. สร้างความเข้มแข็งของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระบบส่งเสริมความประพฤตินักเรียน ระบบ คุ้มครองนักเรียน และการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม
๓. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการจัดการศึกษาให้ครอบคลุมทุกพื้นที่อย่างทั่วถึง
ตัวชี้วัด
๑. ร้อยละ ๙๕ ของผู้เรียนปฐมวัย (๓ – ๕ ปี) ที่มีชื่อใน ทร.๑๔ ได้เข้าเรียนระดับก่อนประถมศึกษา
๒. ผู้เรียนวัยการศึกษาภาคบังคับทุกคน (๖ - ๑๔ ปี) ได้เข้าเรียน
๓. ผู้เรียนในวัยเรียนที่มีความสามารถพิเศษทุกคนได้รับการศึกษา ส่งเสริมเต็มตามศักยภาพ
๔. ผู้เรียนที่มีความบกพร่องทุกคนได้รับการพัฒนาสมรรถภาพหรือบริการทางการศึกษาที่เหมาะสม
๕. ร้อยละ ๑๐๐ ของนักเรียนที่เข้ารับการศึกษาได้รับการดูแลช่วยเหลือจนจบการศึกษาโดยใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
๖. เด็กด้อยโอกาส ไร้สัญชาติ พลัดถิ่น ต่างด้าว เด็กไทยที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชนได้เข้าเรียนทุกคน
๗. พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการศึกษาและมีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และมีความพร้อมด้านสื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
๘. มีระบบฐานข้อมูลของนักเรียนที่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน
กลยุทธ์ที่ ๕ จัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
มาตรการ
๑. จัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตโดยสนับสนุนการสร้างจิตสำนึก สิ่งแวดล้อม มีคุณธรรม จริยธรรม และน้อมนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
๒. พัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ แหล่งเรียนรู้ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
๑. ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนมีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อม
๒. ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนมีคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์ที่ ๖ พัฒนาระบบบริหารจัดการและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
มาตรการ
๑. พัฒนาระบบการวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และ ประเมินผลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
๒. พัฒนาระบบงบประมาณ และกำกับ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณอย่างโปร่งใสและคุ้มค่า
๓. พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการจัดการศึกษาที่มีมาตรฐาน
๔. ส่งเสริมระบบประกันคุณภาพภายในให้เข้มแข็ง
๕. สร้างความเข้มแข็งและยกระดับคุณภาพการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ในรูปแบบเครือข่าย
๖. ยกย่อง เชิดชูเกียรติบุคคลที่มีผลงานเชิงประจักษ์
๗. บริหารแบบกระจายอำนาจ “การบริหารแบบสร้างพลังอำนาจทุกภาคส่วน (ASEM : All Section Empower Management)”
๘. ส่งเสริมสนับสนุนผู้ปกครอง ชุมชน สังคม และสาธารณะให้มีความรู้ความเข้าใจต่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตัวชี้วัด
๑. มีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีการใช้จ่ายงบประมาณถูกต้องโปร่งใส มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลโดยยึดหลักธรรมาภิบาล
๒. มีการพัฒนาด้านวิชาการและการมีส่วนร่วมของเครือข่าย
๓. มีระบบประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิภาพ
๔. มีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็ง
๕. มีเครือข่ายสร้างความเข้มแข็งในการยกระดับคุณภาพการศึกษา
๖. ส่งเสริม สนับสนุนผู้ปกครอง ชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการ การกำกับดูแล ตลอดจนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๗. มีการประสานกับสถาบันหรือหน่วยงานทางการศึกษาในการศึกษาต่อของผู้เรียน
๘. พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
ปรับปรุงข้อมูลเมื่อ 2019-07-23 05:45:59 น.